ภูมิปัญญาของช่างไทยในอดีตกับงานออกแบบและก่อสร้างระบบฐานรากของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสได้ไปทำงานออกแบบโครงสร้างฐานรากรองรับเครื่องจักรในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎ ซึ่งผมได้จอดรถไว้ที่อาคารจอดรถของทางโรงพยาบาล พอเดินออกมาที่หน้าประตูด้านที่ติดกับถนนใหญ่ที่จะมุ่งหน้าไปที่ฝั่งอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิผมก็ไปเจอกับกลุ่มอาคารเก่าแก่อยู่หลายหลังซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ด้วย ซึ่งในระหว่างที่รอที่จะไปคุยงานผมก็ได้มีโอกาสเดินสำรวจดูสิว่า ลักษณะและรูปทรงต่างๆ ของอาคารหลังนี้นั้นเป็นอย่างไรและผมก็ได้พบว่า อาคารดังกล่าวนี้ยังคงความสวยงามตรงตามลักษณะต่างๆ ทางด้านงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่มีการก่อสร้างขึ้นในสมัยโบราณ ทำให้เข้าใจได้เลยว่าเพราะเหตุใดทางโรงพยาบาลจึงเลือกที่จะทำการอนุรักษ์อาคารหลังนี้เอาไว้ให้คนรุ่นหลังๆ ได้มีโอกาสมารับชมกันน่ะครับ


ซึ่งผมคิดว่าอาคารหลังนี้น่าจะได้รับการบูรณะและถูกปฏิรูปมาไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งแน่ๆ เนื่องจากสภาพต่างของชิ้นส่วนงานสถาปัตยกรรมของอาคารยังแลดูดีอยู่มากๆ แต่สิ่งหนึ่งหากเพื่อนๆ นั้นช่วยสังเกตกันดูให้ดีๆ ก็จะพบว่า อาคารหลังนี้มีเรื่องของ “ระดับของอาคาร” ที่มีค่าต่ำกว่าระดับของถนนที่อยู่ทางด้านข้างของอาคารเสียอีกนะครับ

อาจจะเนื่องด้วยการที่อาคารหลังนี้ได้รับการบูรณะและถูกปฏิรูปมาหลายครั้งก็จริงแต่อาจจะไม่ได้ถูกทำการแก้ไขให้ระดับของตัวอาคารนั้นยกตัวสูงขึ้น ซึ่งก็อาจจะเกิดจากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็ตามแต่ ที่ผมกล่าวเช่นนี้เป็นเพราะเอาเข้าจริงๆ แล้วเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้วิศวกรเราสามารถที่จะทำการออกแบบและทำการยกให้อาคารหลังนี้มีค่าระดับที่สูงขึ้นได้ไม่ยากเย็นนักได้นะครับ

เหตุผลที่อาคารหลังนี้มีค่าระดับต่ำกว่าระดับของถนนที่อยู่ทางด้านข้างของอาคารนั้นเป็นเพราะว่า ระบบโครงสร้างฐานรากของอาคารหลังนี้ถูกก่อสร้างขึ้นในอดีตนานมากแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าโครงสร้างฐานรากในอดีตนั้นจะอาศัยเป็นระบบโครงสร้างฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION ซึ่งเราทราบดีว่า เมื่อใดก็ตามที่ทำการก่อสร้างอาคารโดยอาศัยระบบโครงสร้างฐานรากแบบตื้นในเขต กทม และปริมณฑล การจะหลีกหนีปัญหาในเรื่องของการทรุดตัวของอาคารนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากๆ เลย แต่ในทำนองเดียวกันหากเพื่อนๆ ลองสังเกตดูให้ดีๆ และลึกลงไปอีกก็จะพบว่า อาคารหลังนี้จะไม่มีลักษณะของการเสียรูปของโครงสร้างฐานรากแบบไม่เท่ากัน หรือ DIFFERENTIAL SETTLEMENT ให้ได้เห็นเลย ดังนั้นลักษณะของการเสียรูปของโครงสร้างฐานรากแบบตื้นของอาคารหลังนี้จึงเกิดขึ้นแบบสม่ำเสมอเท่าๆ กันหรือจะเรียกในภาษาอังกฤษได้ว่าเป็นรูปแบบ UNIFORM SETTLEMENT ก็ได้นะครับ

ตรงนี้เองเราคงจะต้องยกเครดิตความดีความชอบตรงนี้ให้แก่ภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของช่างก่อสร้างในอดีตที่มีวิธีการออกแบบและก่อสร้างระบบของโครงสร้างฐานรากของอาคารหลังนี้ให้มีพฤติกรรมของการเสียรูปเป็นไปในรูปแบบที่ดีเพราะถึงแม้ว่าผลที่จะเกิดตามมาก็คือ โครงสร้างฐานรากนั้นเกิดการทรุดตัวลงมาก็ตามแต่การทรุดตัวดังกล่าวก็ไม่ทำให้ระบบของโครงสร้างรวมไปถึงระบบโครงสร้างฐานรากของอาคารหลังนี้เกิดความเสียหายขึ้นนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ภูมิปัญญาของช่างไทยในอดีตกับงานออกแบบและก่อสร้างระบบฐานรากของอาคาร
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam