“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลที่เราจะสามารถตรวจพบและไม่สามารถที่จะตรวจพบได้จากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งโพสต์นี้ก็น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายเกี่ยวกับการแชร์ความรู้ในการโพสต์รอบนี้แล้วนะครับ ก่อนที่จะเริ่มในเนื้อหาในส่วนนี้ผมอยากจะขอฝากไว้นิสนึงตรงนี้ว่า หลังจากที่ในครั้งที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีในการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อนๆ ก็น่าจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วข้อจำกัดของวิธีการทดสอบนี้ก็มีอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากจะเลือกนำเอาวิธีการดังกล่าวนี้มาใช้ในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มผมก็ขอให้คำแนะนำว่า เพื่อนๆ … Read More

“ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” การจำแนกประเภทว่าโครงสร้างเสานั้นเป็นโครงสร้างเสาสั้นหรือโครงสร้างเสายาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ ไว้ว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องค่าและวิธีการที่จะถูกนำเอามาใช้ในการจำแนกว่าโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีลักษณะเป็น โครงสร้างเสาที่มีความสั้น หรือ โครงสร้างเสาที่มีความชะลูด ของทั้งวิธีหน่วยแรงใช้งานให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อจากในโพสต์ที่แล้วนะครับ ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้ทำการอธิบายถึงในการโพสต์ครั้งก่อนหน้านี้ว่า … Read More

“ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ในการโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างหรือ CONFINED COMPRESSIVE STRESS ของหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกทำการโอบรัดด้วยเหล็กปลอกให้กับเพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากเพื่อนๆ ยังพอจำได้ว่าในการโพสต์สองครั้งก่อนหน้านี้ผมได้ทำการอธิบายไว้ว่า สาเหตุและความสำคัญที่พวกเรามีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณานำเอามาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนี้มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล … Read More

“ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” เหตุใดจึงควรคำนึงถึงรายละเอียดที่มีความเกี่ยวข้องกันกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมได้ปรารภเป็นการส่วนตัวในหน้าเพจส่วนตัวของผมเกี่ยวกับเรื่อง การทำรายละเอียดของงานวิศวกรรมโครงสร้าง คสล ให้แก่ช่างที่ทำงานที่หน้างานในทำนองที่ว่า หน้าที่ของผู้ออกแบบที่ดีคือ ต้องคิดและคำนึงถึงอยู่เสมอว่าคนทำงานเค้าจะมีความเข้าใจถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ผู้ออกแบบอย่างเราๆ นั้นได้ทำการคิดและทำการออกแบบไว้มากหรือน้อยเพียงใดในทุกๆ งานออกแบบ ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่เพียงใดก็ตาม ซึ่งสำหรับหลายๆ คนนั้นอาจจะคิดว่า … Read More

“ถาม-ตอบชวนสนุก” การจำแนกโครงสร้างเสาสั้นหรือเสายาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้ ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ ผมขอสมมติว่ามีโครงสร้างเสาไม้อยู่หนึ่งต้นซึ่งมีขนาดของความกว้างเท่ากับ 150 MM และมีขนาดของความลึกเท่ากับ 200 MM ทั้งนี้จุดรอบรับในทุกๆ แกนและทั้ง … Read More

“ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” วิธีเบื้องต้นในการประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ เนื่องจากเมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสเดินทางไปตรวจการทำงานก่อสร้างที่หน้างานและบังเอิญไปพบเจอกับปัญหาๆ หนึ่งที่วิศวกรโครงการได้นำเอามาปรึกษากับผม เรื่องนี้ก็คือ จะแก้ปัญหาอย่างไรดีหากว่าค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ทำการทดสอบได้นั้นออกมามีค่าต่ำกว่าที่เราได้ทำการออกแบบเอาไว้ ซึ่งผมก็ได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นกับวิศวกรท่านนี่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ด้วยหากผมนำเอาประเด็นๆ นี้มาแชร์เป็นความรู้กับเพื่อนๆ ในวันนี้ด้วยนะครับ ก่อนอื่นเลยผมต้องบอกกับเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่า … Read More

“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” ตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นประสิทธิผลของชั้นดินที่มีความซับซ้อน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยได้ทำการอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่า หน่วยแรงเค้นประสิทธิผล หรือ EFFECTIVE STRESS หรือที่พวกเรานิยมเขียนด้วยตัวย่อว่า σ’ ให้กับเพื่อนๆ ในเพจของเราไปแล้ว ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิดตัวอย่างในวันนั้นค่อนข้างจะเป็นตัวอย่างที่มีความตรงไปตรงมามาก … Read More

ที่มาและความสำคัญ ของสมการในการคำนวณหาระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุด ในหน้าตัดโครงสร้างคานรับแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ผมมีคำถามเข้ามาจากแฟนเพจที่เป็นน้องวิศวกรซึ่งเป็นผู้หญิงท่านหนึ่งเกี่ยวกับสมการที่ใช้ในการตรวจสอบหาว่า ระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุด หรือค่า EFFECTIVE DEPTH ซึ่งเรามักจะแทนค่าด้วยตัวย่อว่า dmin ที่หน้าตัดของโครงสร้างคานรับแรงดัดของเรานั้นมีความต้องการนั้นมีที่มาที่ไปของสมการคำนวณจากอะไร ซึ่งผมก็ได้ตอบไปในทันทีเลยว่า ก็มาจากสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมรับแรงดึงหรือสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงนั่นแหละ ผมเลยคิดว่าจะเอาคำตอบที่ผมได้ตอบน้องท่านนี้เอามาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ด้วยก็น่าที่จะเป็นการดีนะครับ … Read More

ปัญหาค่าความกว้างน้อยที่สุด ที่ไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้น เกิดหน่วยแรงเค้นดึงขึ้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ ผมขอทำการสมมติว่า ผมกำลังดำเนินการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างให้แก่ โครงสร้างฐานรากแบบตื้น หรือ SHALLOW FOUNDATION … Read More

ค่าระยะเยื้องศูนย์มากที่สุด ที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้น เกิดหน่วยแรงเค้นดึง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรที่เพิ่งจบใหม่ท่านหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วน้องท่านนี้ก็อายุน้อยกว่าผมเพียงไม่กี่ปีแต่ผมยอมรับในตัวแกเลยเพราะแกใช้ความมานะอุตสาหะตั้งใจเรียนจนจบในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีตอนอายุ 30 กว่าๆ ได้ ผมขอแสดงความยินดีกับแกด้วยก็แล้วกันและขออำนวยพรให้แกมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสืบไปนะครับ ทีนี้สิ่งที่แกนำเอาปรึกษากับผมนั้นต้องย้อนกลับไปตอนที่แกกำลังเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอยู่ ซึ่งแกเคยไปอ่านเจอคำถามข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW … Read More

1 2 3 4 5