“ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” วิธีเบื้องต้นในการประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสเดินทางไปตรวจการทำงานก่อสร้างที่หน้างานและบังเอิญไปพบเจอกับปัญหาๆ หนึ่งที่วิศวกรโครงการได้นำเอามาปรึกษากับผม เรื่องนี้ก็คือ จะแก้ปัญหาอย่างไรดีหากว่าค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ทำการทดสอบได้นั้นออกมามีค่าต่ำกว่าที่เราได้ทำการออกแบบเอาไว้ ซึ่งผมก็ได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นกับวิศวกรท่านนี่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ด้วยหากผมนำเอาประเด็นๆ นี้มาแชร์เป็นความรู้กับเพื่อนๆ ในวันนี้ด้วยนะครับ


ก่อนอื่นเลยผมต้องบอกกับเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่า หากเราบังเอิญต้องไปพบเจอกับเหตุการณ์การที่ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ทำการทดสอบได้นั้นออกมามีค่าต่ำกว่าที่เราได้ทำการออกแบบเอาไว้ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจอะไรไปเพราะจริงๆ แล้วมันมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ ในทุกๆ ครั้งหลังจากที่เราได้ดำเนินการในทุกๆ ขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น ทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากรถผสมคอนกรีตสำเร็จรูปว่าตรงตามรายละเอียดที่ได้แจ้งไปหรือไม่ ทำการตรวจสอบค่าการยุบตัวของคอนกรีตว่าเป็นไปตามที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้หรือไม่ เป็นต้น ก็ให้เพื่อนๆ ทำการเก็บตัวอย่างของคอนกรีตที่ได้ทำการเทดังกล่าวนี้เอาไว้ในปริมาณที่เพียงพอ อย่างน้อยก็ไม่ควรที่จะต่ำกว่า 3-5 ตัวอย่างต่อคอนกรีต 1 ชุด เพราะเราจะต้องนำเอาตัวอย่างเหล่านี้ไปทำการทดสอบหาค่ากำลังอัด ทั้งนี้หากพบว่าค่ากำลังอัดที่ทำการเฉลี่ยจากการทำการทดสอบ 3 ครั้งติดต่อกันนั้นมีค่าที่มากกว่าค่ากำลังอัดที่ได้ทำการกำหนดเอาไว้ ก็ถือได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและค่ากำลังอัดที่ทำการทดสอบได้ในแต่ละครั้งจะต้องให้ผลของกำลังอัดไม่ต่ำกว่าค่ากำลังอัดที่ได้รับการออกแบบเอาไว้เกิน 30 KSC เรามาดูตัวอย่างการประเมินสั้นๆ กันสัก 2 กรณีก็แล้วกันนะครับ

กรณีที่ 1 ค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้มีค่าเท่ากับ 280 KSC หากผมมีค่ากำลังอัดที่ได้จากการทำการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตทั้งหมด 3 ค่า ซึ่งมีค่าดังต่อไปนี้นั่นก็คือ
ตัวอย่างที่ 1 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 275 KSC
ตัวอย่างที่ 2 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 298 KSC
ตัวอย่างที่ 3 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 271 KSC

ซึ่งจะทำให้ค่ากำลังอัดเฉลี่ยนั้นออกมามีค่าเท่ากับ 281 KSC ซึ่งมากกว่าค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้และถึงแม้ว่าค่ากำลังอัดจากตัวอย่างที่ 1 และ 3 จะมีค่าต่ำกว่าค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้แต่ก็ยังมีค่าไม่ต่ำกว่า 30 KSC ดังนั้นจึงถือว่าคอนกรีตดังกล่าวนี้ผ่านเกณฑ์ในการพิจารณานะครับ

กรณีที่ 2 ค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้มีค่าเท่ากับ 210 KSC หากผมมีค่ากำลังอัดที่ได้จากการทำการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตทั้งหมด 3 ค่า ซึ่งมีค่าดังต่อไปนี้นั่นก็คือ
ตัวอย่างที่ 1 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 245 KSC
ตัวอย่างที่ 2 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 173 KSC
ตัวอย่างที่ 3 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 223 KSC

ซึ่งจะทำให้ค่ากำลังอัดเฉลี่ยนั้นออกมามีค่าเท่ากับ 214 KSC ซึ่งถึงแม้ว่าจะมากกว่าค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้แต่เป็นเพราะว่าค่ากำลังอัดจากตัวอย่างที่ 2 นั้นจะมีค่าต่ำกว่าค่ากำลังอัดที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้เกิน 30 KSC ดังนั้นจึงถือว่าคอนกรีตดังกล่าวนี้ไม่ผ่านเกณฑ์ในการพิจารณานะครับ

ผมหวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#วิธีเบื้องต้นในการประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีต
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam