“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” ตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นประสิทธิผลของชั้นดินที่มีความซับซ้อน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ก่อนหน้านี้ผมเคยได้ทำการอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่า หน่วยแรงเค้นประสิทธิผล หรือ EFFECTIVE STRESS หรือที่พวกเรานิยมเขียนด้วยตัวย่อว่า σ’ ให้กับเพื่อนๆ ในเพจของเราไปแล้ว ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิดตัวอย่างในวันนั้นค่อนข้างจะเป็นตัวอย่างที่มีความตรงไปตรงมามาก ทำให้เมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนได้มีน้องท่านหนึ่งฝากคำถามเข้ามาว่า หากชั้นดินและระดับของน้ำใต้ดินของเรานั้นมีความซับซ้อนและไม่ได้มีความตรงไปตรงมาขนาดนั้น เราจะยังสามารถทำการคำนวณหาค่า σ’ ได้เหมือนเดิมหรือไม่?


ซึ่งผมก็ได้ตอบไปว่า ใช่ เรายังคงสามารถที่จะทำการคำนวณได้ตามขั้นตอนของการคำนวณเดิมที่ผมเคยให้ไว้ได้เลยและเพื่อเป็นการยืนยันเรื่องนี้วันนี้ผมเลยจะมาทำการคำนวณค่า σ’ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ

ก่อนอื่นเรามาดูปัญหาที่ผมได้ทำการสมมติขึ้นมาก่อน จะเห็นได้ว่าชั้นดินในตัวอย่างนี้ค่อนข้างที่จะมีความสลับซับซ้อนมากพอสมควร นั่นก็คือ ที่ชั้นบนๆ ใกล้ผิวดิน ชั้นดินจะมีลักษณะเป็น ดินทรายแห้ง หรือ DRY SAND ต่อมาที่ชั้นดินถัดลงมา ชั้นดินจะมีลักษณะเป็น ดินทรายเปียก หรือ WET SAND และชั้นดินถัดลงมาอีก ชั้นดินจะมีลักษณะเป็น ดินเหนียวที่มีความอิ่มตัว หรือ SATURATED CLAY โดยที่เราจะพบเห็นได้ว่าที่ระดับของดินชั้นนี้เราจะพบเจอกับระดับของน้ำใต้ดินแล้ว ซึ่งค่าของหน่วยน้ำหนักของดินและค่าความลึกของชั้นดินแต่ละชั้นนั้นก็จะเป็นไปตามข้อมูลที่ผมได้แสดงเอาไว้อยู่ในภาพประกอบของการโพสต์ ดังนั้นผมจะมาทำการแสดงขั้นตอนในการคำนวณหาค่า σ’ ที่ตำแหน่ง H(1) H(2) และ H(3) จากระดับผิวดินมีค่าเท่ากับ 5 เมตร 7 เมตร และ 9 เมตร ตามลำดับ ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้ก็คือ ตำแหน่งที่ (1) (2) และ (3) ในรูปนี้นั่นเองครับ

เรามาเริ่มต้นที่ตำแหน่งแรกนั่นก็คือตำแหน่งที่ (1) กันก่อน ซึ่งที่ตำแหน่งนี้จะมีค่า H(1) เท่ากับ 5 เมตร สำหรับดินชั้นนี้เรายังไม่พบเจอกับระดับของน้ำใต้ดิน ทำให้สมการในการคำนวณหาค่า σ’ ก็ยังคงหาได้ตามปกตินั่นก็คือ
σ’(1) = γd1 × H1 + γd2 × [H(1) ‒ H1] σ’(1) = 1.7 × 4 + 1.9 × (5 ‒ 4)
σ’(1) = 8.7 TONS/M^(2) ◄

มาต่อกันที่ตำแหน่งถัดมานั่นก็คือตำแหน่งที่ (2) กันเลย ซึ่งที่ตำแหน่งนี้จะมีค่า H(2) เท่ากับ 7 เมตร สำหรับดินชั้นนี้เราจะพบเจอกับระดับของน้ำใต้ดินแบบพอดิบพอดีเลย ซึ่งก็ยังคงทำให้สมการในการคำนวณหาค่า σ’ ของเรานั้นยังคงหาออกมาได้ตามปกตินั่นก็คือ
σ’(2) = γd1 × H1 + γd2 × [H(2) ‒ H1] σ’(2) = 1.7 × 4 + 1.9 × (7 ‒ 4)
σ’(2) = 12.5 TONS/M^(2) ◄

ตำแหน่งสุดท้ายนั่นก็คือตำแหน่งที่ (3) ซึ่งที่ตำแหน่งนี้จะมีค่า H(3) เท่ากับ 9 เมตร ถ้าเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่าสำหรับดินชั้นนี้เราจะพบเจอกับระดับของน้ำใต้ดินแล้ว ซึ่งนั่นจะทำให้หน้าตาของสมการในการคำนวณหาค่า σ’ ของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยแต่ก็ยังคงสามารถที่จะหาออกมาได้อยู่ดีนั่นก็คือ
σ’(3) = γd1 × H1 + γd2 × H2 + (γs3 ‒ γw) × [H(3) ‒ H1 ‒ H2] σ’(3) = 1.7 × 4 + 1.9 × 3 + (1.8 ‒ 1.0) × (9 ‒ 4 ‒ 3)
σ’(3) = 14.1 TONS/M^(2) ◄

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นประสิทธิผลของชั้นดินที่มีความซับซ้อน
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam