กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอก (Driven Pile Bearing Capacity)

ในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ มักจะได้รับความนิยมมากกว่าเสาเข็มชนิดอื่นๆ พื้นที่ปลายและพื้นที่ผิวของเสาเข็มซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญของการคาดคะเนกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มสามารถหาได้ง่ายขึ้น

การออกแบบฐานรากเสาเข็มมีความซับซ้อนกว่าการออกแบบฐานรากแผ่ ประเด็นที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษก็คือ

  • กระบวนการก่อสร้างเสาเข็มทำให้สภาพของดินแตกต่างไปจากสภาพในช่วงของการเจาะสำรวจ
  • การสัมผัสระหว่างเสาเข็มกับดินซับซ้อนกว่า

การคาดคะเนกำลังเสาเข็มตอกจากคุณสมบัติของดิน

ในการคาดคะเนกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ขั้นแรกต้องจำแนกประเภทดินก่อน เนื่องจากวิธีการสำหรับคาดคะเนจะแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ

  • ดินที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยว (Cohesionless Soil) หรือทรายสะอาด (Clean Sand) เนื่องจากดินประเภทนี้มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดแรงดันน้ำในช่องว่างส่วนเกิน (Excess Pore Water Pressure) หลังการตอกเสาเข็ม การคำนวณจึงใช้ค่าความแข็งแรงในสภาพระบายน้ำ (Drained Strength)
  • ดินที่มีแรงยึดเหนี่ยว (Cohesive Soil) หรือดินเหนียวอิ่มตัว (Saturated Clay) ดินประเภทนี้จะเกิดแรงดันน้ำในช่องว่างส่วนเกิน (Excess Pore Water Pressure) เนื่องจากการตอกเสาเข็มซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะระบายออกหมด หากพิจารณาเฉพาะน้ำหนักบรรทุกตายตัวของอาคาร ขบวนการก่อสร้างอาคารซึ่งใช้เวลานานอาจทำให้การระบายดังกล่าวสิ้นสุดลง และพฤติกรรมความแข็งแรงของดินจะเป็นแบบระบายน้ำ (Drained Strength) แต่ในความเป็นจริง อาคารต้องรับน้ำหนักจรซึ่งกระทำให้เสาเข็มเคลื่อนตัวลง ดินที่ปลายเสาเข็มจึงเกิดแรงดันน้ำในช่องว่างส่วนเกินอีก ดังนั้นกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ปลายเสาเข็มจึงต้องวิเคราะห์ดินในแบบไม่ระบายน้ำ (Undrained Strength) แต่ในกรณีของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจะมีสภาพแตกต่างกัน การเคลื่อนตัวของเสาเข็มเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกจรไม่ทำให้เกิดแรงดันน้ำในช่องว่างส่วนเกินหรือเกิดน้อยมาก เนื่องจากดินไม่ได้ถูกบีบอัด ดังนั้นกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ผิวเสาเข็มจึงต้องวิเคราะห์ดินในแบบระบายน้ำ (Drained Strength)

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam