ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
หลังจากที่ในหลายๆ สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการพูดถึงเกี่ยวกับเรื่อง ระบบแผ่นพื้น ที่มีการใช้งานในระบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณจบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้ผมจึงคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่จะขึ้นหัวข้อใหม่แต่เก่า ... ไม่งงใช่มั้ยครับ ?
สาเหตุที่ผมแจ้งว่าหัวข้อในวันนี้เป็นหัวข้อใหม่แต่ก็เก่าด้วยนั้นเป็นเพราะว่า ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึงเรื่องๆ นี้ไปบ้างแล้ว เพียงแต่เป็นการอธิบายโดยสังเขป พร้อมกับการยกตัวอย่างง่ายๆ ประกอบคำอธิบาย ซึ่งผมก็ได้ทิ้งท้ายการโพสต์ในครั้งนั้นว่า ในโอกาสหน้าผมจะกลับมาพูดถึงหัวข้อนี้ใหม่โดยที่จะลงรายละเอียดให้ลึกขึ้นมากกว่าเดิม เรื่องนั้นก็คือ การตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก นั่นเองครับ

ซึ่งวันนี้ผมได้เลือกนำเอารายการคำนวณที่ผมเขียนขึ้นเองมาใช้ประกอบคำอธิบายในวันนี้ด้วยแต่ครั้นการที่ผมจะอธิบายโดยละเอียดจริงๆ น่าจะยืดยาวพอสมควร ผมจึงคิดว่าคงจะต้องแบ่งออกมาทำการอธิบายไปทีละหน้าๆ ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอารายการคำนวณทุกๆ หน้า มาเพื่อทำการอธิบายโดยสังเขปก่อนก็แล้วกันนะครับ


เริ่มจากหน้าที่ 1 ซึ่งก็คือรูปที่ 1 หน้าจะเป็นหน้าแรก ดังนั้นก็จะเริ่มต้นจากการตรวจสอบก่อนว่า โครงสร้างคาน คสล ของผม ซึ่งมีขนาดของความยาวของช่วงว่างมีค่าเท่ากับ 14.5 เมตร หรือ 14,500 มม มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบหาค่าการเสียรูปหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ใช่ ต้องทำการตรวจสอบหาว่าค่าการเสียรูปที่คานนั้นมี มีค่าที่สูงเกินค่ามาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ตาม CODE ไปหรือไม่ เนื่องจากระยะของขนาดความของคานนั้นมีค่าน้อยกว่าที่ CODE กำหนดให้ใช้สำหรับเกณฑ์โครงสร้างคาน คสล ที่ไม่ต้องตรวจสอบหาค่าการเสียรูป ต่อมาก็คือ ผมต้องการได้คำตอบที่วิเคราะห์โครงสร้างออกมาโดยมีความละเอียดอยู่ในระดับมีความแม่นยำมาก ดังนั้นผมจึงได้ทำการ MESH ชิ้นส่วนโครงสร้างออกเป็น 8 ชิ้นส่วน เพื่อเวลาที่ผมนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างโยผ่านกระบวนการทาง FINITE ELEMENT คำตอบที่ได้จะมีค่าใกล้เคียงความจำเป็นที่สุด ในส่วนต่อๆ มาก็จะเป็นการคำนวณหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของโครงสร้าง คสล เพื่อที่จะได้มีข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างคาน คสล ต่อไป


หน้าที่ 2 ซึ่งก็คือรูปที่ 2 จะเป็นการคำนวณเพื่อทำการออกแบบโครงสร้างคาน คสล ก่อน ซึ่งค่าน้ำหนักบรรทุกที่จะถูกนำมาใช้ก็จะเป็นกรณีของน้ำหนักบรรทุกทีได้รับการเพิ่มค่าแล้ว หรือ FACTORED LOAD CASE โดยที่ในสองหัวข้อสุดท้ายก็จะเป็นการคำนวณหาค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดภายหลังจากที่เกิดการแตกร้าว หรือ Icr ที่ผมได้ทำการ MESH เอาไว้ทั้งหมดก่อนหน้านี้แล้ว


หน้าที่ 3 ซึ่งก็คือรูปที่ 3 โดยเราจะนำเอาค่าโมเมนต์ดัดในสภาวะการใช้งานมาใช้เป็นแรงภายใน ซึ่งเราก็จะนำเอากรณีของน้ำหนักบรรทุกคงที่ใช้งาน หรือ SERVICE DEAD LOAD CASE มาใช้ ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถที่จะทราบค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดประสิทธิผล หรือ Ieff ได้ สุดท้ายพอเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างคาน คสล ผ่านกระบวนการทาง FINITE ELEMENT เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปของกรณีน้ำหนักบรรทุกคง หรือ DEAD LOAD DEFLECTION ที่ออกมาได้ในที่สุดครับ


หน้าที่ 4 ซึ่งก็คือรูปที่ 4 โดยเราจะนำเอาค่าโมเมนต์ดัดในสภาวะการใช้งานมาใช้เป็นแรงภายในเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้เราจะเปลี่ยนมาใช้กรณีของน้ำหนักบรรทุกคงที่รวมใช้งาน หรือ SERVICE COMBINATION LOAD CASE ซึ่งก็คือ น้ำหนักบรรทุกคงที่ใช้งาน รวมกันกับ น้ำหนักบรรทุกจรใช้งาน หรือ SERVICE LIVE LOAD CASE มาใช้บ้าง ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถที่จะทราบค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดประสิทธิผลได้ สุดท้ายพอเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างคาน คสล ผ่านกระบวนการทาง FINITE ELEMENT เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปแบบทันทีทันใด หรือ IMMEDIATE DEFLECTION ได้ในที่สุดครับ


หน้าที่ 5 ซึ่งก็คือรูปที่ 5 เราจะนำเอาค่าโมเมนต์ดัดในสภาวะการใช้งานมาใช้เป็นแรงภายในเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้เราจะเปลี่ยนมาใช้กรณีของน้ำหนักบรรทุกคงที่รวมใช้งานปรับแก้ หรือ MODIFIED SERVICE COMBINATION LOAD CASE ซึ่งก็คือ น้ำหนักบรรทุกคงที่ใช้งาน รวมกันกับ น้ำหนักบรรทุกจรใช้งาน ที่คูณด้วยค่าปรับแก้เนื่องจากการคงค้างของน้ำหนักบรรทุกมาใช้ ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถที่จะทราบค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดประสิทธิผลได้ สุดท้ายพอเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างคาน คสล ผ่านกระบวนการทาง FINITE ELEMENT เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปเนื่องจากการคงค้างของน้ำหนักบรรทุก หรือ SUSTAINED DEFLECTION ได้ในที่สุดครับ

หน้าที่ 6 ซึ่งก็คือรูปที่ 6 ซึ่งหน้านี้เป็นรายการคำนวณหน้าสุดท้ายแล้ว เราจะเริ่มต้นทำการคำนึงถึงผลจากการเกิด CREEP และ SHRINKAGE ก่อน ซึ่งก็จะสามารถทำการคำนวณหาออกมาได้จากสมการและแผนภูมิในรูป ซึ่งก็จะเป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นของเวลาในการรับน้ำหนักบรรทุกเป็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้นำเอาค่าเหล่านี้มาใช้เพื่อทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปในระยะยาวของโครงสร้าง หรือ LONG TERM DEFLECTION ได้ สำหรับส่วนของตารางที่อยู่ด้านข้างของรูปก็จะเป็นตารางที่แสดงให้เห็นถึงเกณฑ์ที่ควรจะต้องนำมาใช้เพื่อทำการประเมินว่า ค่าการเสียรูปที่ยอมให้ของโครงสร้างคาน คสล ของเรานั้นไม่ควรมีค่าเกินเท่าใด ในหัวข้อสุดท้ายก็จะเป็นการคำนวณหาว่า ค่าการเสียรูปสำหรับทั้งสองกรณีหลักๆ ที่เราคำนวณได้นั้นจะผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งในรายการคำนวณชุดนี้โครงสร้างคาน คสล ของเราก็ถือได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องของการเสียรูปนะครับ

เราจะนำเอาค่าโมเมนต์ดัดในสภาวะการใช้งานมาใช้เป็นแรงภายในเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้เราจะเปลี่ยนมาใช้กรณีของน้ำหนักบรรทุกคงที่รวมใช้งานปรับแก้ หรือ MODIFIED SERVICE COMBINATION LOAD CASE ซึ่งก็คือ น้ำหนักบรรทุกคงที่ใช้งาน รวมกันกับ น้ำหนักบรรทุกจรใช้งาน ที่คูณด้วยค่าปรับแก้เนื่องจากการคงค้างของน้ำหนักบรรทุกมาใช้ ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถที่จะทราบค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดประสิทธิผลได้ สุดท้ายพอเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างคาน คสล ผ่านกระบวนการทาง FINITE ELEMENT เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปเนื่องจากการคงค้างของน้ำหนักบรรทุก หรือ SUSTAINED DEFLECTION ได้ในที่สุดครับ
เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมจะพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณแต่ละหน้าแต่ละหัวข้อไปพร้อมๆ กันนะ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมกันได้ในโพสต์ของวันพุธหน้าครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com