ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม วิธีในการปฎิบัติงานเหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมรองภายในฐานรากที่ดี

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เนื่องจากเมื่อประมาณสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นได้มีแฟนเพจของเราท่านหนึ่งได้ให้ความกรุณาสอบถามเข้ามาผ่านทางช่องทางอินบ็อกซ์ของทางเพจในทำนองว่า
“ผมขอสอบถามหน่อยนะครับว่า ตามปกติแล้วเวลาที่เราจะทำการวางเหล็กเสริมหลักหรือเหล็กเสริมรองให้ลงไปอยู่ในโครงสร้างฐานราก เราจะต้องทำการกำหนดให้เหล็กเสริมดังกล่าวนี้วางตัวอยู่บนลูกปูน ดังนั้นหากจะว่ากันตามหลักการที่ถูกต้องทางด้านงานวิศวกรรมแล้ว ไม่ทราบว่าเราสามารถที่จะทำการกำหนดให้เหล็กเสริมหลักหรือเหล็กเสริมรองที่วางตัวอยู่ในโครงสร้างฐานรากนี้ให้การวางตัวอยู่ที่ด้านบนของโครงสร้างเสาเข็มโดยตรงโดยที่ไม่ต้องมีลูกปูนมาคั่นกลาง ได้ หรือ ไม่ ครับ?”
ซึ่งผมแค่มีความคิดว่าจริงๆ แล้วคำถามข้อนี้ก็เป็นคำถามที่ดีและก็มีความน่าสนใจดีนะ ผมจึงขออนุญาตเลือกนำเอาคำถามข้อนี้มาขยายความและตอบเพื่อเป็นวิทยาทานให้กับเพื่อนท่านนี้รวมไปถึงเพื่อนๆ ทุกๆ คนในเพจของเราด้วย ก็น่าที่จะเป็นการดีนะครับ


จริงๆ แล้วหากพวกเราไปลองเปิดอ่านดู CODE ต่างๆ ที่ว่าด้วยเรื่องงานออกแบบก็ดีหรืองานก่อสร้างเองก็ดี เราก็อาจจะพบว่าเรื่องๆ นี้แทบจะไม่ได้มีการระบุเอาไว้อยู่ภายในข้อกำหนดใดข้อกำหนดหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นข้อห้ามแบบเฉพาะเจาะจงที่มีความชัดเจนขนาดนั้นนะ เพียงแต่หากเราทำการพิจารณาและว่ากันตามหลักการของการใช้งานและพฤติกรรมของความแข็งแรงของวัสดุแล้ว เราก็อาจจะพบว่า เราไม่ควรที่จะนำเอาวัสดุใดวัสดุหนึ่งไปสัมผัสกันโดยตรงกับเหล็กเสริมที่วางตัวอยู่ในโครงสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนหรือทำให้พฤติกรรมทางด้านการใช้งานและพฤติกรรมทางด้านการรับกำลังที่เหล็กเสริมของเรานั้นควรที่จะมีหรือเป็นไปนั้นเกิดการสูญเสียหรือด้อยคุณภาพลงไป เช่น เราไม่ควรปล่อยให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นต้องไปสัมผัสกับเหล็กเสริมที่วางตัวอยู่ภายในโครงสร้างฐานรากโดยตรงจนทำให้เหล็กเสริมของเรานั้นต้องสูญเสียแรงยึดเหนี่ยวหรือ BOND ไป หรือ หากเป็นกรณีที่เรามีการใช้งานโครงสร้างเสาเข็มที่มีหน้าตัดเป็นแบบกลวง เช่น โครงสร้างเสาเข็มรูปทรงสี่เหลี่ยมกลวง หรือ โครงสร้างเสาเข็มรูปทรงกลมกลวง เป็นต้น ซึ่งเราก็ปล่อยให้ส่วนที่เป็นรูกลวงของโครงสร้างเสาเข็มให้ไปสัมผัสโดยตรงกันกับเหล็กเสริม ไม่ว่าเหล็กเสริมนั้นจะเป็นเหล็กเสริมหลักหรือเหล็กเสริมรองก็ตามเพราะการทำเช่นนั้นก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้น้ำหรือค่าความชื้นของน้ำที่อยู่ในมวลดินนั้นค่อยๆ เกิดการซึมหรือระเหยขึ้นมาตามรูกลวงของโครงสร้างเสาเข็ม จนในที่สุดก็อาจจะส่งผลทำให้เหล็กเสริมที่วางตัวอยู่ในโครงสร้างฐานรากของเรานั้นค่อยๆ เกิดการผุกร่อนและก็จะสามารถเกิดเป็นสนิมได้ในที่สุด เป็นต้นนะครับ

สุดท้ายนี้ผมขออนุญาตทำการสรุปว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่มี CODE ใดๆ ที่จะมาห้ามปรามหรือเป็นข้อกำหนดในเรื่องรายละเอียดข้อห้ามในเชิงของวิธีการในการปฏิบัติงานก่อสร้างที่ชัดเจนมากนักแต่เราก็ควรที่จะใช้ ENGINEERING SENSE ของเราพิจารณาให้ดีว่า หากเป็นรูปแบบของการทำงานใดๆ ที่อาจจะเป็นการส่งผลเสียต่อพฤติกรรมของการใช้งานหรือการรับแรงของตัวเหล็กเสริม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม เราก็ควรที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงเอาไว้ก่อนก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#วิธีในการปฎิบัติงานเหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมรองภายในฐานรากที่ดี
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam