วิธีในการคำนวณหาค่ากำลังของเสาเข็มแบบพื้นฐาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

ซึ่งคำถามในวันนี้ก็มาจากเพื่อนที่เป็นแฟนเพจท่านหนึ่งซึ่งได้สอบถามเข้ามาทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวของผมโดยที่มีใจความของคำถามว่า
“ผมเชื่อคำแนะนำของพี่เรื่องการทำการทดสอบดินนะแต่ปัญหาคือ เมื่อผมเรียกให้บริษัทที่รับทำการทดสอบดินให้มาทำการทดสอบดินผลปรากฏว่า เค้าไม่ได้ทำการคำนวณขนาดของหน้าตัดเสาเข็มที่ผมต้องการที่จะใช้ออกมาให้ เช่น ผมอยากจะใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 230 มม แบบนี้ผมควรต้องทำอย่างไรดีละครับ ?”

ซึ่งผมก็ได้ทำการตอบไปในเบื้องต้นว่า หากประสบพบเจอกับเหตุการณ์ๆ นี้ก็อาจจะมีแนวทางอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 แนวทางหลักๆ นั่นก็คือ
แนวทางที่ 1 ให้เพื่อนๆ แจ้งกับทางบริษัทที่รับทำการทดสอบดินโดยตรงเลยว่า เพื่อนๆ ต้องการที่จะให้ทางบริษัทนั้นออกแบบขนาดหน้าตัดของเสาเข็มขนาดและรูปทรงใดบ้าง ซึ่งเค้าก็น่าที่จะสามารถดำเนินการคำนวณออกมาให้ได้แทบจะในทันทีเลยโดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ เลยนะครับ

แนวทางที่ 2 ให้เพื่อนๆ ผลการทดสอบดินและก็แจ้งไปยังวิศวกรโครงสร้างผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารของเพื่อนๆ ให้ช่วยทำการคำนวณค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มเพราะผมเชื่อว่าผลที่ได้ออกมาจากการทดสอบดินนั้นจะมีข้อมูลอยู่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในการคำนวณค่าดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการนี้ก็สามารถที่จะทำได้เช่นกันนะ ผมขอยกตัวอย่างสั้นๆ ประกอบสัก 1 ตัวอย่างก็แล้วกันนะครับ
สมมติว่าผมมีความต้องการที่จะใช้งานเสาเข็มสปันไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 230 มม ซึ่งจะต้องมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยไม่น้อยกว่า 35 ตันต่อต้น เพื่อที่จะนำไปใช้ในงานก่อสร้าง-ต่อเติมอาคารของผมและผมมีผลการทดสอบดินดังแสดงอยู่ในรูปประกอบของโพสตๆ นี้ซึ่งทางบริษัททดสอบดินไม่ได้ทำการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มขนาดดังกล่าวนี้ให้แก่ผม ผมก็จะทำการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มออกมาเองโดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ครับ

ขั้นตอนแรก คือ พิจารณาดูก่อนว่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มของเรานั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ซึ่งจากตัวอย่างในวันนี้ดูแล้วน่าที่จะมีความเป็นไปได้เพราะหากเราดูที่ขนาดความลึกของชั้นดินเท่ากับ 21 เมตร ค่าที่อยู่เหนือเส้นประขึ้นไปก็จะพบว่าเป็นข้อมูลของเสาเข็มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 220 มม ซึ่งจะมีขนาดที่เล็กกว่า 230 มม อยู่เล็กน้อยและเสาเข็มขนาดดังกล่าวก็มีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยเท่ากับ 34 ตันต่อต้น ส่วนหากดูค่าที่อยู่ใต้เส้นประลงมาก็จะพบว่าเป็นข้อมูลของเสาเข็มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 260 มม ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า 230 มม และเสาเข็มขนาดดังกล่าวก็มีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยเท่ากับ 43 ตันต่อต้น พูดง่ายๆ ก็คือขนาดและค่ากำลังของเสาเข็มที่เราต้องการจะใช้นั้นจะอยู่ระหว่างขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 220 มม และ 260 มม ดังนั้นมันจึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะนำเอาเสาเข็มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 230 มม มาใช้ได้ ดังนั้นในเบื้องต้นเราก็จะทำการกำหนดให้ค่า Lp นั้นมีค่าเท่ากับ 21 เมตร ก่อนนะครับ

ขั้นตอนที่สอง คือ ให้เราทำการคำนวณหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของเสาเข็มที่เราต้องการที่จะนำมาใช้ออกมาก่อน ซึ่งก็อาจจะประกอบไปด้วย
SF MIN. ≥ 2.00
∵ SF = 2.50
Po = 0.23×4
Po = 0.92 m
Ap = 0.23^(2)
Ap = 0.0529 m^(2)
Wsw = 2400×0.0529/1000
Wsw = 0.127 T/m

ขั้นตอนที่สาม คือ ตรวจสอบค่าที่ได้จากผลการทดสอบซึ่งก็จะประกอบไปด้วย 3 ค่าหลักๆ ซึ่งได้แก่
∑qf = SKIN FRICTION OF SOIL
∑qf = 48 T/m
qe = BEARING OF SOIL
qe = 1000 T/m^(2)
NF = NEGATIVE SKIN FRICTION OF SOIL
NF = 0

ขั้นตอนที่สี่ซึ่งก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการคำนวณ คือ ทำการคำนวณและตรวจสอบดูว่าเสาเข็มที่เราต้องการที่จะนำมาใช้นั้นจะมีค่าความสามารถในการรับกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่เราต้องการหรือไม่
Qf = FRICTION CAPACITY OF PILE
Qf = ∑qf×Po
Qf = 48×0.92
Qf = 44.16 T
Qe = END BEARING CAPACITY OF PILE
Qe = qe×Ap
Qe = 1000×0.0529
Qe = 52.9 T
Wp = TOTAL SELFWEIGHT OF PILE
Wp = Wsw×Lp
Wp = 0.127×21
Wp = 2.67 T
Qt = TENSION CAPACITY OF PILE
Qt = Qf/SF + Wp
Qt = 44.16/2.5 + 2.67
Qt = 20.33 T
Qu = ULTIMATE CAPACITY OF PILE
Qu = Qf + Qe ‒ NF ‒ Wp
Qu = 44.16 + 52.9 ‒ 0 ‒ 2.67
Qu = 94.39 T/PILE
Qa = ALLOWABLE CAPACITY OF PILE
Qa = (Qf + Qe)/SF ‒ NF ‒ Wp
Qa = (44.16 + 52.9)/2.5 ‒ 0 ‒ 2.67
Qa = 36.15 T/PILE > 35 T/PILE ◄ OK

สุดท้ายเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มของเรานั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ สุดท้ายนี้ผมขอทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่าถึงแม้ว่าการคำนวณนั้นจะยืนยันออกมาแล้วว่า เสาเข็มสามารถที่จะรับกำลังได้ตามที่ต้องการแต่ว่าภายในขั้นตอนของการคำนวณค่าต่างๆ ข้างต้นนั้นยังขาดไปซึ่งขั้นตอนในการพิจารณาคุณสมบัติของค่า SPT และค่า WATER CONTENT ขั้นต่ำซึ่งควรจะต้องนำมาใช้ในการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เสาเข็มของเรานั้นมีค่าความสามารถในการต้านทานค่าการทรุดตัวอยู่ภายในเกณฑ์ที่ดีอีกด้วยนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#วิธีในการคำนวณหาค่ากำลังของเสาเข็มแบบพื้นฐานจากผลการทดสอบดิน
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com