“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลที่เราจะสามารถตรวจพบและไม่สามารถที่จะตรวจพบได้จากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งโพสต์นี้ก็น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายเกี่ยวกับการแชร์ความรู้ในการโพสต์รอบนี้แล้วนะครับ ก่อนที่จะเริ่มในเนื้อหาในส่วนนี้ผมอยากจะขอฝากไว้นิสนึงตรงนี้ว่า หลังจากที่ในครั้งที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีในการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อนๆ ก็น่าจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วข้อจำกัดของวิธีการทดสอบนี้ก็มีอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากจะเลือกนำเอาวิธีการดังกล่าวนี้มาใช้ในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มผมก็ขอให้คำแนะนำว่า เพื่อนๆ … Read More

ค่าระยะเยื้องศูนย์มากที่สุด ที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้น เกิดหน่วยแรงเค้นดึง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรที่เพิ่งจบใหม่ท่านหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วน้องท่านนี้ก็อายุน้อยกว่าผมเพียงไม่กี่ปีแต่ผมยอมรับในตัวแกเลยเพราะแกใช้ความมานะอุตสาหะตั้งใจเรียนจนจบในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีตอนอายุ 30 กว่าๆ ได้ ผมขอแสดงความยินดีกับแกด้วยก็แล้วกันและขออำนวยพรให้แกมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสืบไปนะครับ ทีนี้สิ่งที่แกนำเอาปรึกษากับผมนั้นต้องย้อนกลับไปตอนที่แกกำลังเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอยู่ ซึ่งแกเคยไปอ่านเจอคำถามข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW … Read More

ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL … Read More

สมการในการคำนวณหาค่ากำลังของเสาเข็มแบบพื้นฐานจากผลการทดสอบดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ ซึ่งคำถามในวันนี้นั้นสืบเนื่องมาจากคำถามในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งได้มีแฟนเพจถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาค่ากำลังความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างเสาเข็ม โดยที่ใจความของคำถามก็คือ จากทั้งสามค่าที่ผมได้นำเอามาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ไปในสัปดาห์ก่อนดังต่อไปนี้ Qt = TENSION CAPACITY OF PILE … Read More