การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) การเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อ 1. แจ้งข้อมูลต่างๆ แวดล้อมการทำงานให้ชัดเจนกับทางโรงงานผู้ผลิต เช่น ความยากง่ายของการเข้าออกของสถานที่ก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อให้ทางโรงงานผู้ผลิตได้ทราบและทำการออกแบบสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ตามที่ได้แจ้งไป 2. เมื่อมีการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มที่หน้างาน … Read More

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่ คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ 1. คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน(Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า … Read More

การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน ในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้น

การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน ในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้น สำหรับฐานรากประเภทนี้ตัวโครงสร้างของฐานรากเองนั้นจะมีความยืดหยุ่นตัว หรือ สามารถที่จะมีการเคลื่อนตัวได้ หากทำการผนวกเอาวิชาทางด้านวิศวกรรมฐานรากตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION ENGINEERING เข้ากันกับทฤษฎีของโครงสร้างหรือ THEORY OF STRUCTURES สามารถที่จะทำการแทนให้แรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับของฐานรากประเภทนี้อยู่ในรูปแบบของแรงลัพธ์ที่เกิดจากสปริงที่มีความยืดหยุ่นตัวหรือว่า ELASTIC SPRING ได้ ซึ่งแรงลัพธ์ของสปริงที่มีความยืดหยุ่นตัวนี้จะสามารถจำแนกออกได้เป็น … Read More

คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย

คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย คุณสมบัติ คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติความลื่นไหลสูงและมีการแยกตัวต่ำ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสามารถในการไหลเข้าแบบได้ง่ายกว่าคอนกรีตปกติทั่วไป และไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น เช่นงานโครงสร้างอาคารที่มีเหล็กเสริมหนาแน่น เพื่อช่วยลดการเกิดโพรงที่บริเวณโครงสร้างเมื่อถอดแบบ คอนกรีตชนิดนี้มีหลักการออกแบบ ที่ต้องคำนึงถึงทั้งค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสม และปริมาณส่วนละเอียดที่เพียงพอ ที่จะทำให้คอนกรีตไหลเข้าแบบได้ง่ายโดยไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น นอกจากนี้ขนาดโตสุดและขนาดคละของมวลรวม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอีกด้วย ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่มีปริมาณเหล็กเสริมในปริมาณมาก โครงสร้างที่มีความหนาค่อนข้างน้อย หรือโครงสร้างเปลือกบาง … Read More

คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป

คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น … Read More

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน HOT ROLLED STEEL

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน HOT ROLLED STEEL โดยในประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มีอักษรย่อว่า สมอ. ได้มีการออกประกาศเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมีอักษรย่อว่า มอก. ของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนก็คือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1227-2539 ส่วนเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นก็คือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1228-25349 ทั้งนี้จุดประสงค์ที่ทาง สมอ. ได้ทำการออกประกาศดังกล่าวออกมาก็เพื่อใช้เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อให้ทั้ง … Read More

เหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า COLED FORM STEEL

เหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า COLED FORM STEEL โดยที่เจ้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นนั้นก็จะประกอบไปด้วยหน้าตัดเหล็กทั้งหมด 5 แบบ โดยมีประเภทของเหล็กเพียง 1 ชั้นคุณภาพเท่านั้น ซึ่งก็คือเกรด SSC400 โดยวิธีในการตรวจสอบเบื้องต้นว่าเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือไม่ วิธีในการตรวจสอบคือ 1. ตรวจสอบการแสดงเครื่องหมายและฉลากต่างๆ บนเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น มีความครบถ้วนหรือไม่ 2. ตรวจสอบตัวนูนที่แสดงชั้นคุณภาพ … Read More

วิธีในการเลือกใช้งาน เสาเข็มแต่ละประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละงาน

วิธีในการเลือกใช้งาน เสาเข็มแต่ละประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละงาน เสาเข็มแต่ละหน้าตัดนั้นจะมีลักษณะและองค์ประกอบที่มีความแตกต่างกัน เช่น เส้นรอบรูป ขนาดพื้นที่หน้าตัด กระบวนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเสาเข็ม ลักษณะของปลายเสาเข็ม เป็นต้น จะทำให้เสาเข็มแต่ละหน้าตัดมีความเหมาะสมกับชนิดของดิน ที่จะนำไปใช้ตอกแตกต่างกัน จะทำการอ้างอิงถึงเสาเข็มแต่ละชนิดแต่ละหน้าตัด โดยจะมีปลายที่เหมือนๆกัน คือ เป็นปลายแบบ ตัดตรง และจะมีความยาวที่เท่าๆ กัน และหน้าตัดของเสาเข็มแบบใด … Read More

การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม

การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม ในการใช้งานเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มในอาคารนั้น มีกำลังในการรับน้ำหนักที่สูงที่สุด และมีการทรุดตัวของเสาเข็มที่น้อยที่สุดด้วย หากเลือกระหว่างการเลือกใช้งานระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว SINGLE PILE กับระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม GROUP PILES แนะนำให้ใช้เป็นระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว เพราะ หากเลือกอาศัยระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม จะพบว่า กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มนั้นจะมีค่าที่ … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ … Read More

1 2 3