สร้างพื้นแบบไฮบริด หรือ HYBRID STRUCTURAL SLAB

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL BEAM โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เป็นต้น และเพื่อให้ต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมได้พูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั่นก็คือ โครงสร้างพื้น หรือ FLOOR STRUCTURE ที่เรามักจะนำมาใช้ในงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นในวันนี้ผมก็จะขออนุญาตมาอธิบายถึงโครงสร้างพื้นประเภทสุดท้ายแล้วนั่นก็คือ โครงสร้างพื้นแบบไฮบริด หรือ HYBRID STRUCTURAL SLAB นะครับ

ใช่แล้ว เพื่อนๆ อ่านไม่ผิด ซึ่งจริงๆ แล้วที่ผมเขียนว่าเป็น โครงสร้างพื้นแบบไฮบริด ก็ไม่ได้เกินจริงมากจนเกินไปนักและที่ผมใช้ชื่อเรียกแบบนี้นั่นเป็นเพราะว่าพื้นชนิดนี้จะต้องอาศัยการผสมผสานกันทางด้านกลศาสตร์ระหว่างวัสดุเหล็กและวัสดุคอนกรีต ซึ่งพื้นชนิดนี้จะมีชื่อเรียกทางเทคนิคจริงๆ ว่า โครงสร้างแผ่นพื้นสำเร็จรูปหน้าตัดผสมเหล็ก หรือ STRUCTURAL COMPOSITE STEEL DECK SLAB ซึ่งลักษณะของ โครงสร้างแผ่นพื้นสำเร็จรูปหน้าตัดผสมเหล็ก นั้นจะประกอบไปด้วยแผ่นลอนเหล็กซึ่งจะวางตัวอยู่ที่ชั้นใต้สุดของแผ่นพื้น ซึ่งเจ้าแผ่นเหล็กนี้เองก็จะทำหน้าที่เป็นแบบท้องพื้นไปในตัว ดังนั้นพื้นชนิดนี้จะไม่จำเป็นที่จะต้องมีการตั้งไม้แบบเพื่อที่จะรับท้องพื้นเพิ่มเติมอีกแล้วแต่หากความยาวช่วงนั้นมีค่าค่อนข้างสูง ก็อาจจะมีการค้ำยันที่บริเวณท้องพื้นเพิ่มเติมก็เท่านั้น ส่วนทางด้านบนก็จะใช้เป็นการเทคอนกรีตโครงสร้างเพื่อที่จะทับลงไปที่ด้านบน ทั้งนี้เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวแล้วเราก็จะได้แผ่นพื้นที่มีกำลังความสามารถในการรับน้ำหนักที่ไม่แพ้ชนิดอื่นๆ เลย ซึ่งสิ่งที่ผมได้ทำการอธิบายไปช้างต้นนั้นก็คือเหตุผลว่าทำไมชื่อเรียกของแผ่นพื้นชนิดนี้จึงเป็น โครงสร้างพื้นแบบไฮบริด นั่นเป็นเพราะโครงสร้างพื้นชนิดนี้จะมีการวางตัวเป็นแบบพื้นอย่างง่าย หรือ SIMPLY SUPPORTED SLAB ซึ่งเราทราบดีว่าลักษณะของโครงสร้างแบบนี้ที่บริเวณ ผิวด้านบนของหน้าตัด หรือ TOP FIBER นั้นจะเกิดเป็นหน่วยแรงเค้นอัด หรือ COMPRESSION STRESS และที่บริเวณ ผิวด้านล่างของหน้าตัด หรือ BOTTOM FIBER นั้นก็จะเกิดเป็นหน่วยแรงเค้นดึง หรือ TENSION STRESS ซึ่งเราก็จะนำเอาวัสดุคอนกรีตที่มีจุดเด่นในเรื่องของการรับหน่วยแรงอัดที่ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มาใช้ในการรับหน่วยแรงเค้นอัดนี้และก็จะอาศัยวัสดุเหล็กที่มีจุดเด่นในเรื่องของการรับหน่วยแรงดึงที่ดีมากๆ มาใช้ในการรับหน่วยแรงเค้นดึงที่เกิดขึ้น ซึ่งหลักการดังกล่าวก็คือ การนำเอาจุดแข็งหรือจุดเด่นของแต่ละวัสดุนำมาใช้งานภายในหนึ่งหน้าตัดของโครงสร้างของเรานั่นเองครับ

ตัวแผ่นลอนเหล็กนั้นจะถูกผลิตขึ้นจากเหล็กชุบสังกะสีรีดขึ้นรูปและจะมีปุ่มนูน หรือ EMBOSSMENT หรือบางครั้งก็อาจจะใช้เป็น เหล็กมุด หรือ STEEL STUD ให้มีการกระจายตัวอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ เช่น สันของแผ่นลอนเหล็ก เป็นต้น โดยที่ปุ่มนูนหรือเหล็กหมุดเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่เสมือนเป็นเหมือนตัวยึดเกาะเพื่อให้แผ่นพื้นเหล็กกับคอนกรีตนั้นมีเกิดการผสานเข้าด้วยกันโดยที่จะมีความเนื้อเดียวกันให้มากที่สุดนะครับ

ในปัจจุบันนั้นงานพื้นที่ใช้ โครงสร้างแผ่นพื้นสำเร็จรูปหน้าตัดผสมเหล็ก มักจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างหลากหลายประเภทเลย นั่นเป็นเพราะโครงสร้างแผ่นพื้นสำเร็จรูปหน้าตัดผสมเหล็กนั้นจะเป็นงานระบบแผ่นพื้นที่สามารถที่จะใช้เพื่อการก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว แข็งแรง ประหยัด ทั้งในเรื่องของไม้แบบและก็เหล็กเสริม ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วๆ ไปเลย เช่น อาคารโรงงาน อาคารตึกสูง อาคารสำนักงาน อาคารบ้านพักอาศัย เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่5
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com